pubrelate engineer rmutt

Monday, June 04, 2007

การจัดการองค์ความรู้

Knowledge Management ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทรธ.

http://www.en.rmutt.ac.th/prd/page97Knowledge_Management.htm

4 Comments:

  • การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    หมายถึง การจัดการศึกษาที่ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยกระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

    รูปแบบของการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษามีหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้
    1. การเรียนรู้จากกรณีปัญหา (Problem based Learning: PBL)
    เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนควบคุมการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียนคิด และดำเนินการเรียนรู้ กำหนดวัตถุประสงค์ และเลือกแหล่งเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหามากกว่าการจำเนื้อหาข้อเท็จจริง
    เงื่อนไขที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย ความรู้เดิมของผู้เรียน ทำให้เกิดความเข้าใจข้อมูลใหม่ได้ การจัดสถานการณ์ที่เหมือนจริง ส่งเสริมการแสดงออกและการนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การให้โอกาสผู้เรียนได้ไตร่ตรองข้อมูลอย่างลึกซื้ง ทำให้ผู้เรียนตอบคำถาม จดบันทึก สอนเพื่อน สรุป วิพากษ์วิจารณ์สมมติฐานที่ได้ตั้งไว้ได้ดี

    2. การเรียนรู้เป็นรายบุคคล (Individual Study)
    เนื่องจากผู้เรียนแต่ละบุคคลมีความสามารถในการเรียนรู้ และความสนใจในการเรียนรู้ต่างกัน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเทคนิคหลายวิธี เพื่อช่วยในการจัดการเรียนในกลุ่มใหญ่ สามารถตอบสนองผู้เรียนแต่ละคนที่แตกต่างกันได้ด้วย เช่น
    2.1 เทคนิคการใช้ Concept Mapping ที่มีหลักการใช้ตรวจสอบความคิดของผู้เรียนว่าคิดอะไร เข้าใจสิ่งที่เรียนอย่างไรแล้วแสดงออกมาเป็นกราฟฟิก
    2.2 เทคนิค Learning Contracts คือ สัญญาที่ผู้เรียนกับผู้สอนร่วมกันกำหนด เพื่อใช้เป็นหลักยึดในการเรียนว่าจะเรียนอะไร อย่างไร เวลาใด ใช้เกณฑ์อะไรประเมิน
    2.3 เทคนิค Know-Want-Learned ใช้เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ผสมผสานกับการใช้ Mapping ความรู้เดิม เทคนิคการรายงานหน้าชั้นที่ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มานำเสนอหน้าชั้นเรียน อาจมีกิจกรรมทดสอบผู้ฟังด้วย
    2.4 เทคนิคกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นการเรียนที่ทำให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกัน แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดซึ่งกันและกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์

    3. การเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism)
    การเรียนรู้ที่มีพื้นฐานว่า "ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้โดยการอาศัยประสบการณ์แห่งชีวิตที่ไดรับเพื่อค้นหาความจริง โดยมีรากฐานจากทฤษฎีจิตวิทยาและปรัชญาการศึกษาที่หลากหลาย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
    3.1 กลุ่มที่เน้นกระบวนการรู้คิดในตัวบุคคล เป็นกลุ่มที่เน้นการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นรายบุคคล โดยเชื่อว่ามนุษย์แต่ละคนรู้วิธีเรียนและรู้วิธิคิด เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
    3.2 กลุ่มที่เน้นการสร้างความรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เป็นกลุ่มที่เน้นว่า ความรู้ คือ ผลผลิตทางสังคม โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นสองประการ คือ 1. ความรู้ต้องสัมพันธ์กับชุมชน 2. ปัจจัยทางวัฒนธรรม สังคม และประวัติศาสตร์ มีผลต่อการเรียนรู้ ดังนั้นครูจึงมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้

    4. การเรียนรู้จากการสอนแบบ เอส ไอ พี
    การสอนแบบ เอส ไอ พี เป็นรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกทักษะทางการสอนให้กับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และความสามารถเกี่ยวกับทักษะการสอน โดยผลที่เกิดกับผู้เรียนมีผลทางตรง คือ การมีทักษะการสอน การมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะทางการสอนและผลทางอ้อม คือ การสร้างความรู้ด้วยตนเอง ความร่วมมือในการเรียนรู้ และความพึงพอใจในการเรียนรู้
    5. การเรียนรู้แบบแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง (Self-Study)
    การเรียนรู้แบบนี้เป็นการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เช่น การจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น การเรียนแบบค้นพบ การเรียนแบบแก้ปัญหา การเรียนเชิงประสบการณ์ ซึ่งการเรียนการสอนแบบแสวงหาความรู้ด้วยตนเองนี้ใช้ในการเรียนรู้ทั้งที่เป็นรายบุคคล และกระบวนการกลุ่ม

    6. การเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning)
    การเรียนรู้แบบนี้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมผู้เรียนให้เกิดพัฒนาการทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระ การฝึกปฏิบัติจริง ฝึกฝนทักษะทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะวิชาชีพ การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง โดยสถาบันการศึกษามักร่วมมือกับแหล่งงานในชุมชน รับผิดชอบการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเนื้อหากิจกรรม และวิธีการประเมิน

    7. การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ (Research-based Learning)
    การเรียนรู้ที่เน้นการวิจัยถือว่าเป็นหัวใจของบัณฑิตศึกษา เพราะเป็นการเรียนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนโดยตรง เป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ และการทดสอบความสามารถทางการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยรูปแบบการเรียนการสอนอาจแบ่งได้เป็น 4 ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่ การสอนโดยใช้วิธีวิจัยเป็นวิธีสอน การสอนโดยให้ผู้เรียนร่วมทำโครงการวิจัยกับอาจารย์ หรือเป็นผู้ช่วยโครงการวิจัยของอาจารย์ การสอนโดยผู้เรียนศึกษางานวิจัยของอาจารย์ และของนักวิจัยชั้นนำในศาสตร์ที่ศึกษา และการสอนโดยใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน

    8. การเรียนรู้ที่ใช้วิธีสร้างผลงานจากการตกผลึกทางปัญญา (Crystal-based Learning)
    การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบนี้ เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างสรรค์ความรู้ ความคิดด้วยตนเองด้วยการรวบรวม ทำความเข้าใจ สรุป วิเคราะห์ และสังเคราะห์จากการศึกษาด้วยตนเอง เหมาะสำหรับบัณฑิตศึกษา เพราะผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่มีประสบการณ์เกี่ยวกับศาสตร์ที่ศึกษามาในระดับหนึ่งแล้ว

    ที่มาจาก คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

    By Blogger ปอ, At 10:29 PM  

  • การประกันคุณภาพ สำคัญอย่างไรกับคณะวิศวกรรมศาสตร์?

    By Blogger ปอ, At 2:57 AM  

  • การประกันคุณภาพน่าจะต้องทำให้เกิดคุณภาพในองค์กรของเรา เพราะถ้าไม่ประกันคุณภาพใดๆ เลย งานที่ทำโดยคนหลายคน หลายหน่วยงาน ก็จะไม่เหมือนกัน ไม่มีมาตรฐาน แถมอาจจะยุ่งเพราะต่างคนต่างทำ หรือเวลาสอบนักศึกษา ถ้าต่างคนต่างสอบ ไม่มีกรรมการกลางมาคอยตรวจสอบ บางทีก็อาจจะมีช่องทางให้นักศึกษาทุจริตได้

    หรือการทำงานที่เป็นแบบ PDCA คือต้องมีการวางแผน แล้วดำเนินการไปตามแผน เมื่อเสร็จก็ต้องมีการตรวจสอบ (แบบประเมินผล หรือเครื่องมือวัดอื่นๆ) เมื่อทราบว่าผิดพลาดอะไร ก็นำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งหน้า ไม่ใช่ทำผิดซ้ำซาก เป็นต้น

    ใครคิดเห็นเพิ่มเติมสามารถเขียนมาคุยได้ครับ

    By Blogger ปอ, At 3:01 AM  

  • ปัจจุบันนี้ เรามีฐานข้อมูลด้วยนะครับ
    ลองเข้าไปดูที่
    http://fis.rmutt.ac.th/

    By Blogger Assist.Prof.Dr.Apichart Sonthisombat, At 1:35 AM  

Post a Comment

Subscribe to Post Comments [Atom]



<< Home